Facebookหน้าแรก|บุคลากร|ข่าวประชาสัมพันธ์|เอกสารดาวน์โหลด|บทความและผลงานวิชาการ|ภาพกิจกรรม|วิดีโอกิจกรรม|สมุดเยี่ยม|แผนที่view 159487 View view 3.144.212.145 rss feed
 
 
หัวเรื่อง : แหล่งเรียนรู้  บันทักเมื่อ 14/01/2016 17:17 น.

  

ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

กศน.ตำบลทุ่งกล้วย  อำเภอภูซาง  จังหวัดพะเยา

ลำดับที่

ชื่อแหล่งการเรียนรู้

ประเภทแหล่งเรียนรู้

จุดเด่น/

เนื้อหาการเรียนรู้

ที่ตั้ง/ที่อยู่

ผู้รับผิดชอบ/

เบอร์ติดต่อ

หมายเหตุ

1

ชมรมสมุนไพร กลุ่มผู้สูงอายุ

บ้านก๊อน้อย

แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน

การนำสมุนไพรพื้นบ้านมาแปรรูปเป็นยา   รักษาโรค

บ้านก๊อน้อย หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา

นายสุธรรม  ดวงแก้ว

 

2

ผ้าทอไทลื้อย้อมสีธรรมชาติ

แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน

การทอผ้าไทลื้อและย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ

บ้านทุ่งกล้วย หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา

นางเปลี่ยน  ดีจิตร

054-455241

 

3

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวกล้อง

แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน

การทำข้าวกล้องจากเครื่องสีข้าวมือหมุนที่ทางกลุ่มผลิตขึ้นเอง

ที่ทำการชมรมผู้สูงอายุ บ้านปงใหม่ หมู่ที่ 8 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา

นายจันทร์  บัวติ๊บ

 

4

กศน.ตำบลทุ่งกล้วย

แหล่งเรียนรู้ประเภทอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง

มีการจัดการเรียนการสอนสายสามัญ การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย

หมู่ที่ 9 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา

ว่าที่ ร.ต.หญิงณกัญญกร  จอมแสง

081-1672744

นางวรวลัญจ์  สิงห์สุวรรณ

084-4801809

 

5

กลุ่มสตรีสหกรณ์ผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก บ้านก๊อซาว

แหล่งเรียนรู้ประเภทศิลปะ วัฒนธรรมและจารีตประเพณี

ปลูกหญ้าแฝกและนำหญ้าแฝกมาถักสานเป็นหัตถกรรมฝีมืออันสวยงาม

บ้านก๊อซาว หมู่11 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา

นางหลง  ไชยลังกา

 

 

 

 

 


ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ในชุมชน/กศน.ตำบลทุ่งกล้วย

อำเภอภูซางจังหวัดพะเยา

 

 

1.       แหล่งการเรียนรู้ ชมรมสมุนไพร กลุ่มผู้สูงอายุบ้านก๊อน้อย

ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน

2.       ที่ตั้งหมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

3.       ประวัติความเป็นมา

พ่อสุธรรม ดวงแก้ว มีความรู้เรื่องตำรายาซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และหลังจากนั้น

ก็ได้ไปเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร ชมรมหมอเมืองแพทย์แผนไทย ในปี พ.ศ. 2547-2548 สาขาเภสัชกรรม ( รุ่นที่ 3 ) ม.จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ( วัดหลวง จ.พะเยา )

          เริ่มต้นคือมีพื้นฐานหมอเมืองมาจากลุงซึ่งเป็นพี่ชายของพ่อ แกทำสมุนไพรและรักษาชาวบ้านในชุมชน จนเป็นที่เรื่องลือ และเคยช่วยลุงมาตลอดเพราะมีใจรักมาก จากนั้นมาก็มีเพื่อนที่กรุงเทพฯ แนะนำมาให้เป็นสมาชิกหมอเส็ง แต่ปรากฏว่าพอไปชิมสมุนไพรหมอเส็งก็รู้สึกว่ามันมีสมุนไพรตัวไหนที่อยู่ในหมู่บ้านเราก็เอามาคิดค้นจนรู้สูตรของสมุนไพร และเอามาทดลองกับคนที่ป่วยไม่มีแรง คนแรกที่ได้ทดลองคือ พ่อน้อยสอง บ้านก๊อหลวง แกป่วยลุกไม่ขึ้นแข้งขาไม่มีแรง ป่วยมาได้แปดเดือน ปรากฏว่าแกหายเป็นปกติ   จากนั้นมาก็เลยทดลองกับคนป่วยอีกหลายคนก็ได้ผลมาตลอด และพยายามคิดค้นหาสมุนไพรต่างๆ เกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิง ต่อมาก็คิดค้นสมุนไพรอีกหลายอย่าง จนปัจจุบันเป็นที่ยอมรับทั่วไป จากนั้นก็ได้ไปเรียนแพทย์แผนไทยที่วัดศรีโคมคำในจังหวัดพะเยา เรียนสาขาเภสัชกรรม จนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมและรู้จักต้นสมุนไพรที่บรรเทาอาการรักษาโรคเป็นพันชนิด เพื่อเอามาประกอบกันซึ่งรักษาอาการป่วยของคนทั่วไปอยู่ทุกวัน เรียนแพทย์แผนไทย สาขาเภสัชกรรม ขึ้นตรงกับ ม.จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย รุ่นที่ 3 ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์ที่ฝึกสอน จากนั้นก็จัดตั้งชมรมหมอเมือง และจะจัดเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องสมุนไพร เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รู้จักเรื่องสมุนไพร และจะได้อนุรักษ์สมุนไพรที่เป็นประโยชน์เอาไว้ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ให้รู้จักหวงแหนสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสุขภาพ ชมรมหมอเมือง (ก๊อน้อยสมุนไพร) ขึ้นกับเครือข่ายของชมรมวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา และยังมีความรู้ในด้านน้ำสมุนไพรหลายชนิด เช่น น้ำลูกยอ และอีกหลายอย่าง และอีกอย่างก็คิดค้นตำราเก่าๆ ของบรรพบุรุษสมุดข่อย เพื่อเอามาผสมผสานกับการวิจัยขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสมุนไพรแบบโบราณและปัจจุบัน 

          เริ่มแรกก่อตั้งเป็นกลุ่มสตรีสหกรณ์ผู้ผลิต ในปี พ.ศ. 2547 หลังจากนั้นพ่อสุธรรม ดวงแก้ว ก็ได้ไปเรียนเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2547-2548 ต่อมาในวันที่ 20 ก.ค. 2550 ก็ได้แยกออกมาตั้งกลุ่มชมรมหมอเมือง ( ก๊อน้อยสมุนไพร ) ขึ้น แต่ทั้งสองกลุ่มนี้ก็ยังได้ทำงานร่วมกันอยู่ในบางส่วน 

4.        ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้

การนำสมุนไพรพื้นบ้านมาแปรรูปเป็นยา    รักษาโรค

5.       ผู้รับผิดชอบ ชื่อนายสุธรรม ดวงแก้ว

ที่อยู่บ้านก๊อน้อย หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา

6.       อื่นๆ ………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

 

 

ทำเนียบแหล่งเรียนรู้ในชุมชน/กศน.ตำบลทุ่งกล้วย

อำเภอภูซางจังหวัดพะเยา

 

 

1.       แหล่งการเรียนรู้ผ้าทอไทลื้อย้อมสีธรรมชาติ

ประเภทบุคคลและองค์กรในชุมชน

2.       ที่ตั้งหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

3.       ประวัติความเป็นมา

กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านทุ่งกล้วย เดิมเป็นกลุ่มทอผ้าฝ้ายและย้อมสีธรรมชาติที่ใช้ในครัวเรือน โดยได้สืบทอดมาจากภูมิปัญญา จากบรรพบุรุษที่สั่งสมมาให้ลูกหลาน ซึ่งในอดีตวัตถุดิบส่วนมาหาได้จากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น แต่ต่อมาได้มีการพัฒนาฝีมือจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มีคุณภาพดี และเป็นที่ต้องการของตลาด ประกอบกับความสนใจของคนในกลุ่มเอง จึงได้เกิดการรวมกลุ่มขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นในปี พ.ศ.2531 เพื่อให้ชาวบ้านที่สนใจในเรื่องของการทอผ้า ได้เกิดความสามัคคีและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ก่อให้เกิดรายได้เสริมนอกจากอาชีพหลัก คือ ทำไร่ ทำนา ผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มดำเนินการผลิต ได้แก่ ผ้าซิ่นลายต่างๆ เช่น ลายน้ำไหล เป็นต้น ผ้าขาวม้า ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้าพันคอ ผ้าสไบ ย่าม ผ้ารองจาน ผ้าเช็ดเท้า และตุง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ

เนื่องจากกลุ่มเดิมมีสมาชิกมาก ทำให้ยากต่อการบริหาร จึงได้แบ่งกลุ่มออกมา โดยใช้ชื่อว่ากลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านทุ่งกล้วย หมู่ที่ 5 จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2548 มีสมาชิกทั้งหมด 40 คน โดยมีนางอัมพร อินปั๋น เป็นประธานกลุ่ม

4.       ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้

การทอผ้าไทลื้อและย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ

5.       ผู้รับผิดชอบ ชื่อนางเปลี่ยน  ดีจิตร  โทรศัพท์ 054-455241

ที่อยู่บ้านทุ่งกล้วย หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง จ.พะเยา

6. 

 
เชื่อมโยงภายใน
- ทำเนียบบุคลากร
- ข่าวประชาสัมพันธ์จากหน่วยงาน
- อัลบั้มรูปกิจกรรม
- อัลบั้มวิดีโอ
- เอกสารดาวน์โหลด

- เผยแพร่ผลงานวิชาการและบทความที่น่าสนใจ
- ผลงานดีกิจกรรมเด่น
- แผนที่การเดินทาง
- ผู้ดูแลระบบ
กศน.ตำบลทุ่งกล้วย
134 หมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา  เบอร์โทรติดต่อ  0861164143
ติดต่อผู้ดูแล Virapornka905@gmail.com
Facebook    rss feed

เว็บไซต์นี้ขับเคลื่อนโดย NKINFOWEB V3 demo